9 มี.ค. 2024
1 นาที
9 มี.ค. 2024
1 นาที
9 มี.ค. 2024
1 นาที
ถือเป็นโชคดีของผู้มีรายได้ เมื่อกรมสรรพากรประกาศเลื่อนกำหนดการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2562 ออกไปจากสิ้นเดือนมีนาคม ไปเป็นสิ้นเดือนมิถุนายน 63 เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ใครที่ยังคงหาเวลาไปยื่นภาษีที่กรมสรรพากรไม่ได้ ลองใช้วิธีนี้ดูซิ การยื่นภาษีออนไลน์ สะดวกสบาย เพียง 5 ขั้นตอน
แต่ก่อนจะยื่นภาษี สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ยื่นภาษีเป็นครั้งแรก อ่านตรงนี้สักนิด ก่อนคลิก 5 ขั้นตอน สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายแล้ว คุณต้องยื่น ภ.ง.ด. 91 เป็นการเสียภาษีเงินได้ของทั้งปี โดยยื่นเพียงปีละครั้ง แต่หากคุณทำงานเป็นฟรีแลนซ์ ไม่ได้มีเงินเดือนประจำ รับเงินเป็นจ็อบ ๆ ก็ให้ยื่นเป็นแบบ ภ.ง.ด. 90
1. เปิดใช้บัญชีพร้อมเพย์เพื่อโอนเงินคืนภาษี (กรณีได้คืนภาษี) สะดวกที่สุดด้วยการผูกบัญชีเข้ากับเลขบัตรประชาชน
2. กรอกเลข 0000000000001 ในกรณีที่ไม่ทราบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้
3. บุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 สามารถลดหย่อนได้เพิ่ม พ่อแม่ไม่ต้องหารบุตรคนละครึ่งอีกแล้ว
4. หากต้องชำระภาษีเพิ่มเติมสามารถขอผัดผ่อนได้ โดยไม่ต้องมีดอกเบี้ย โดยผ่อนได้ 3 งวด 0% กับกรมสรรพากรเมื่อมียอดภาษีต้องจ่าย 3,000 บาทขึ้นไปผ่านบัตรเครดิตซึ่งขอรับสิทธิ์ตอนยื่นภาษีได้ทั้งบนเว็บไซต์สรรพากรและสำนักงานท้องที่
- หากคุณได้รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี
- หากคุณได้รับเงินเดือนเกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 26,583 บาท คุณต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี - - หากคุณได้รับเงินเดือนเกิน 26,583 บาทขึ้นไป คุณจะต้องยื่นและต้องเสียภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 91 ด้วย มาดู 5 ขั้นตอนในการยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเองกันเลย
Source: เว็บไซต์กรมสรรพากร
เริ่มต้นขั้นตอนแรก ด้วยการเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร หน้ายื่นภาษีออนไลน์ หรือคลิกที่นี่เพื่อเริ่มขั้นตอน จากนั้นเลือกภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91 แล้วจึงเลือกยื่นภาษีด้วยตนเอง ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
ถ้าหากเป็นการยื่นภาษีออนไลน์เป็นครั้งแรก ให้คุณทำการลงทะเบียนก่อน ถึงจะเข้าใช้งานได้ ให้คลิกที่ “ลงทะเบียนที่นี่” เพื่อทำการสมัครใช้งานก่อน แต่ถ้าหากคุณเคยลงทะเบียนใช้งานไว้แล้ว ก็เพียงแค่ใส่หมายเลขผู้ใช้ พร้อมรหัสผ่าน เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย แต่คนส่วนใหญ่มักจะลืมรหัสแต่เพียงแค่กดปุ่ม "ลืมรหัสผ่าน" เพื่อตั้งรหัสใหม่
หน้ากรอกข้อมูลและรายละเอียดของผู้มีเงินได้
ขั้นตอนที่ 2 นี้ เมื่อเข้ามาสู่หน้า “แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล ปีภาษี 2562” จะแสดงข้อมูลชื่อที่อยู่ของคุณตามข้อมูลในบัตรประชาชน ให้ตรวจสอบความถูกต้อง และทำการแก้ไขหากข้อมูลไม่ถูกต้องได้ที่หน้านี้ จากนั้นให้เลือก “ทำรายการต่อไป” เพื่อจะไปยังหน้าให้กรอกรายละเอียด เช่น สถานภาพ จากนั้นให้เลือก “ทำรายการต่อไป”
นำข้อมูลจากใบทวิ 50 มากรอกรายละเอียดในหน้านี้
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญทีเดียว เป็นการกรอกข้อมูลระบุเงินได้ที่เรามี และเงินที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ ควรอ่านให้ละเอียดเพื่อรับสิทธิในการได้ลดหย่อนหรือได้เงินคืนภาษี เช่น เงินประกันสังคม เงินอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา เป็นต้น จากนั้นจะเป็นการกรอกรายได้พึงประเมินพร้อมภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยเรานำตัวเลขมาจากใบทวิ 50 ที่บริษัทที่คุณทำงานอยู่เป็นผู้ออกให้ มากรอกนั่นเอง
คำนวณภาษี
ขั้นตอนนี้ไม่ต้องทำอะไร ระบบจะเป็นผู้คำนวณภาษีให้เอง หลังจากคุณกรอกข้อมูลตัวเลขก่อนหน้านี้ครบแล้ว ระบบจะคำนวณตัวเลขออกมา พร้อมระบุว่าต้อง “ชำระเพิ่มเติม” เท่าไหร่ นั่นหมายถึงเราต้องส่งเงินภาษีเพิ่มเติมตามจำนวนที่แจ้งในหน้าคำนวณภาษีนี้ หรือ “ชำระไว้เกิน” เท่าไหร่ หมายถึงเราจะได้เงินภาษีคืนนั่นเอง
เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่ระบบคำนวณภาษีให้คุณเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ทำการตวรจเช็คตัวเลขความถูกต้อง แล้วก็กดยื่นภาษีได้เลย จากนั้นจะมีหน้าเอกสารขึ้นมาให้คุณบันทึกเก็บไว้หรือสั่งปริ้นท์เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ต้องชำระเงินเพิ่ม ก็มีวิธีให้เลือกชำระได้หลายทางทั้งชำระผ่านธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม จ่ายด้วยบัตรเครดิต หรือหากได้รับเงินภาษีคืน ให้เลือกว่าจะรับคืนด้วยวิธีใด รับเป็นเช็ค หรือรับผ่านธนาคาร ผ่านระบบพร้อมเพย์ตามแต่คุณจะสะดวก
ขั้นตอนทั้ง 5 นี้ไม่ยากเลยใช่ไหม แถมปีนี้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ผ่านอินเทอร์เน็ต ปีภาษี 2567 ยื่นได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2568 เลย หากยื่นล่าช้ากว่ากำหนดนี้ก็จะต้องเสียค่าปรับ คลิกที่นี่เลย https://rdserver.rd.go.th/publish/
บัตรเครดิต : ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
สินเชื่อส่วนบุคคล : อัตราดอกเบี้ยปกติ 25% ต่อปี, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 3% - 25% ต่อปี
First Choice
Tag:
21 มิ.ย. 2024
233127
6 พ.ย. 2023
64066
31 พ.ค. 2023
51181